October 2021

Lucksawan Yutthanakorn
3 min readOct 5, 2021

Lucksawan Y. Progress Update #15
63340700413 FRAM#18

ครั้งที่ 15 รายงานความคืบหน้าตั้งแต่ 6 กันยายน ถึง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564

Thesis

  • Blockly

ตอนนี้กำลังสร้าง object ในลักษณะ cube เพื่อทดสอบการหยิบ object ผลสามารถหยิบและลากได้แล้ว (สามารถ Interact กับ object ได้) แต่ยังเป็นผลการทดลองหยิบจาก Game scene อยู่ ทั้งนี้อ้างอิงจากไลบรารี่ MRTK ขั้นต่อไปจะนำไปทดสอบหยิบลากกับ Hololens 2

วิดิโอที่แสดงอยู่ในพื้นหลังตั้งใจว่าจะให้ display ในกรอบที่กำหนด แต่น่าจะยังตั้งค่าผิดอยู่ ตอนนี้ที่แสดงผลได้จะเป็นรูปแบบ Far from camera หรือ Near camera เท่านั้น (ในวิดิโอ Mockup แสดงผลเป็นแบบ Far from camera) จะหาทางแก้ไขให้เข้าที่ต่อไป

คาดว่าจะต้องใช้ Collider และ Collision detection มาช่วยให้ Blockly สามารถทำงานได้ reference คล้าย ๆ blockly ของ google

Flow ร่างการส่งข้อมูลของโค้ดควบคุมหุ่นยนต์ผ่าน MQTT Broker เพื่อไปสั่งงานหุ่นยนต์แขนกลและฮาร์ดแวร์ใน Demo site

  • Menu

พยายามเปลี่ยนวิธีการกดเชื่อมต่อกับโบรคเกอร์ที่จากเดิมใช้เป็นปุ่ม PressableRoundButton ธรรมดาให้ดูเป็นเมนูแบบ User Friendly มากขึ้น โดยเป็นเมนูที่จะสามารถกดได้จาก Microsoft Hololens 2 ด้วย ใช้ PressableButton หรือ NearInteractionGrabbable ช่วยให้สามารถ Interact กับ Hololens ได้

AI For All 2 : Smart Factory

Content แนวทางการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์แขนกลโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

อยู่ในขั้นตอนตกลงหาทางออกการทำกราฟฟิก จากเนื้อหาต้องการให้ represent ออกมาเป็น 3D animation แต่ว่าถ้าใช้ 3D จะต้องปั้นโมเดลใหม่ทั้งหมดและมีค่าใช้จ่ายสูง จึงตกลงกันว่าจะใช้ 2D เหมือนเดิม แล้วส่วนที่ควรแสดงเป็น 3D ก็จะ insert เป็นวิดิโอแทน

เป็นเนื้อหาของ user ระดับ 3 ค่ะ (ปฏิบัตการ) ต้องการให้ผู้ดูรู้จักคำสั่งหลักที่ใช้สั่งให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่, การเลือกใช้คำสั่งการเคลื่อนที่ให้เหมาะสม, การสร้าง safety point ก่อนเข้าถึงจุดหยิบวางชิ้นงานจริง โดยคาดหวังให้ผู้เรียนสามารถออกแบบเส้นทางการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์แขนกลได้คร่าว ๆ มีโจทย์และตัวอย่างการสร้างเส้นทางในเนื้อหาด้วย

เป็นสตาฟกิจกรรมอบรมการพัฒนา IoT Application ด้วย Node-Red และ ThingsBoard รุ่นที่ 2

ถอดบทเรียนการอบรมครั้งที่ 2

  • ปัญหาที่ยกเป็นกรณีศึกษา

ผู้สมัครและได้รับคัดเลือกเป็นตัวจริงไม่ยืนยันสิทธิ์ตามระยะเวลาที่กำหนด ทางทีมงานส่งอีเมลให้ยืนยันสิทธิ์ไปหาผู้สมัครที่ได้รับคัดเลือกตัวจริงในวันจันทร์ที่ 27 ก.ย. 2564 ทั้ง 2 อีเมล (อีเมลแรกคือแจ้งผู้ได้รับคัดเลือก อีเมลที่ 2 คือแจ้งกำหนดการยืนยันสิทธิ์และเวลาเข้าร่วมอบรม) และให้ยืนยันสิทธิ์ภายในวันที่ 30 ก.ย. จากนั้นจึงจะประกาศให้รายชื่อสำรองยืนยันสิทธิ์ ภายหลังประกาศรายชื่อสำรอง ผู้สมัครท่านนี้จึงมาขอยืนยันสิทธิ์ล่าช้า

จากกรณีนี้ ตัดสินใจว่าไม่ให้เข้าร่วมอบรม เนื่องจากไม่ได้ทำตามข้อกำหนดของการยืนยันสิทธิ์ และทางทีมงานได้ประกาศรายชื่อสำรองที่ได้รับสิทธิ์อย่างเป็นทางการแล้ว

  • สิ่งที่พัฒนาให้ดีขึ้นจากการอบรมครั้งที่แล้ว

1. เพิ่มแบบทดสอบในการคัดเลือกทำให้ได้ผู้เรียนที่มีพื้นฐานใกล้เคียงกัน ทำให้สามารถตามเนื้อหาไปได้พร้อม ๆ กัน

2. มีการซ้อม flow การอบรมหลายครั้งทำให้เวลาอบรมจริงสามารถ run ได้ดี การให้ admin ควบคุมการเปิดปิดไมค์และการแชร์หน้าจอทำให้บรรยากาศในการอบรมเรียบร้อยขึ้นมาก

  • ทำระบบส่ง key ให้ผู้เรียนที่ดูแลอยู่ในครั้งเดียว

set key เฉพาะบุคคลเพื่อส่งให้กับผู้เรียนแบบ specific topic โดยกดปุ่มเพื่อส่งตามแบบฝึกหัดนั้น ๆ

  • ทำฟอร์มประกาศรายชื่อให้เป็นทางการ

พยายามทำให้การประกาศจากกิจกรรมมีความเป็นทางการมากขึ้น จากครั้งที่แล้วเป็นรายชื่อใน excel ให้ผู้สมัครดูเท่านั้น

ทดสอบระบบออกใบประกาศ

ทดสอบหาบัคที่อาจเกิดขึ้นและเสนอฟังก์ชั่นเพิ่มเติมและฟังก์ชั่นที่จำเป็น เช่น การแสดงผลตัวเลขจำนวนข้อมูลทั้งหมด, การเพิ่มการตรวจสอบการอัพโหลดข้อมูลซ้ำ, การแก้ไขปุ่มอัพโหลดให้เข้าใจง่ายขึ้น จากตอนแรก misleading มาก ๆ

เตรียมคุยวางแผนงานใหญ่

  1. กิจกรรมทั้งหมดที่ต้องทำจนกว่าจะจบโครงการ
  2. Demosite phase 2 (ออกแบบระบบที่เป็น standardization รูปแบบการทำงานอ้างอิงจาก Demosite เดิม)
  3. แผนขอรับการสนับสนุนจาก Company consortium
  4. แผนการเชื่อมต่อการทำงานกับกลุ่มโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  5. วิธีการเบิกงบและการวางแผนการแบ่งจ่ายต่าง ๆ

อื่น ๆ

Seminar: Actualizing Digital Transformation with Augmented Reality and IoT Technology.

สิ่งที่น่าสนใจ :

1. ThingWorx เป็น solution ที่น่ามา implement กับ demosite phase ใหม่(ที่จะเอา UR มาแทน Dobot) เสนอให้วางโครงระบบใหม่อ้างอิงจากของเดิมแต่ทำให้เรียบร้อยและเสถียรมากขึ้น ทั้งhardware และ electrical

ข้อดีของ ThingWorx คือเป็น platform ที่มี IoT solution ครบถ้วนไปจนถึงการ visualization และ data analytics และยังสามารถเชื่อมข้อมูลไปสู่ Vuforia studio ที่ใช้สร้าง AR app ได้ด้วย มีความเห็นว่าเหมาะกับการ develop demosite ที่จะจัดตั้งที่ชั้น 7 มาก ๆ

2.Vuforia Studio เหมาะกับนำมาสร้าง Model tracking เพราะมีความเสถียรมาก สามารถนำมาใช้สร้าง AR App ใช้งานร่วมกับ demosite และ Thesis ได้

**อยากนัดกับ PTC เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ThingWorx และ Vuforia Studio (อาจจะถามพ่วงถึง Vuforia Engine ด้วยเลย) โดยหัวข้อที่ต้องการสอบถามคือ

คำถาม ThingWorx

1.การใช้งานกับ Demo site

2.ความ flexible ของการสร้างโปรแกรม/การใช้งาน source code/การใช้งาน platform

3.การสร้าง UI ที่สามารถดูได้จากหลาย devices

4.การใช้งาน data analytics

5.การ training การใช้งานโปรแกรม

6.user support สามารถถามได้ตลอดไหม

คำถาม Vuforia Studio

1.สามารถสร้าง scene ใน Studio แล้ว save หรือ export มาใช้ร่วมกับ Unity หรือ Vuforia engine ได้ไหม

2.วิธีการลิ้งข้อมูลจาก ThingWorx มาใช้สร้าง AR Object ใน Vuforia studio

3.วิธีการใช้งาน Vuforia studio สร้าง AR app ให้ demo site เช่น ต้องมี 3d step file

4.ความสามารถในการสร้าง AR app และขีดจำกัดของ platform นี้

5.การ display media ต่าง ๆ เช่น เสียง วิดิโอ ภาพ ข้อความ platform นี้สามารถทำได้หรือไม่

6.ระยะเวลาของ license

--

--