July 2021

Lucksawan Yutthanakorn
4 min readJul 5, 2021

Lucksawan Y. Progress Update #12
63340700413 FRAM#18

ครั้งที่ 12 รายงานความคืบหน้าตั้งแต่ 6 มิถุนายน ถึง 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

Covid-19 Vaccinated: Astrazeneca เข็มที่ 1

สรุปความคืบหน้าครั้งที่ 1 (เทอม 2/2563)

รูปที่ 1. สรุปความคืบหน้าครั้งที่ 1 เทอม 2/2563

สอบความคืบหน้าครั้งที่ 1 เทอม 2/2563, pitch ไปที่ 9 หน่วยกิต คือระบบต้องสามารถสั่งงานผ่านอุปกรณ์สวมศีรษะ Microsoft Hololens 2 ได้ โดยใช้ Augmented object สั่งงานอุปกรณ์ (Hardware) จริงในหน่วยสาธิตได้

ผลการพัฒนาระบบ

ในเทอมนี้ อุปกรณ์สวมศีรษะ Microsoft Hololens 2 ตัวซีนการใช้งานสามารถแสดงผล Augmented object ในซีนได้ และสามารถใช้ Augmented object ที่แสดงสั่งงาน Hardware ในหน่วยสาธิตได้ ก็คือสามารถสั่ง Actuator กระบอกลมดันชิ้นงาน และ หุ่นยนต์แขนกล Dobot Magician

Protocol ที่ใช้สื่อสารในระบบฝึกอบรม ระหว่าง Microsoft Hololens 2 กับหน่วยสาธิต จะใช้ MQTT Protocol นำไลบรารี่ MQTT สำหรับ Unity มาพัฒนาเข้ากับการใช้งาน และสามารถใช้งานการสื่อสารระหว่าง Microsoft Hololens 2 กับหน่วยสาธิตได้

เนื่องจากเป็นระบบฝึกอบรมจึงจะต้องมีเนื้อหาประกอบด้วย โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ระดับตามระดับของกลุ่มเป้าหมาย การออกแบบเนื้อหาจะพยายามออกแบบให้สามารถใช้ระบบฝึกอบรมโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับการสั่งงานอุปกรณ์ภายในหน่วยสาธิตได้ และต้องเชื่อมโยงเข้ากับมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาคลัสเตอร์หุ่นยนต์ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบเนื้อหาให้สามารถใช้งานได้จริง

รูปที่ 2. Measurable verb จาก Bloom’s Taxonomy (Ref: List of Measurable Verbs Used to Assess Learning Outcomes (clinton.edu))

วัตถุประสงค์ของแต่ละหัวข้อเนื้อหาถูกออกแบบโดยอ้างอิง Bloom’s Taxonomy มีหลักการใช้ Measurable verb (คำกริยาที่วัดผลได้) มาสร้างวัตถุประสงค์เพื่อให้ออกแบบตัวชี้วัดได้ตรงจุดมากขึ้น

ตัวอย่างการนำ Bloom’s Taxonomy มาใช้ออกแบบคอร์สสำหรับกลุ่มบุคคลทั่วไป

เนื้อหาสำหรับบุคคลทั่วไปประกอบด้วย 3 หัวข้อเนื้อหา
รายละเอียด ดังนี้

ชื่อคอร์ส: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Smart Factory สำหรับบุคคลทั่วไป

Course description: คอร์สนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) คุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพแมคคาทรอนิกส์ สาขาคลัสเตอร์หุ่นยนต์ที่ออกโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพของประเทศไทย ลักษณะเด่นของโรงงานอัจฉริยะ ความแตกต่างระหว่างโรงงานอัจฉริยะและโรงงานทั่วไป โดยจำลองสถานการณ์ให้เข้าใจง่ายผ่านสื่อวิดิโอ และความเชื่อมโยงระหว่างโรงงานอัจฉริยะกับอุตสาหกรรม 4.0 เนื้อหาเหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจเกี่ยวกับสายอาชีพด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ผู้สนใจประกอบอาชีพด้าน System Integrator รวมถึงผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาโรงงานและพนักงานระดับปฏิบัติการที่ต้องการเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับโรงงานอัจฉริยะ

What you’ll learn:

  • เพื่อให้บุคคลทั่วไปรู้จักสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแมคคาทรอนิกส์ สาขาคลัสเตอร์หุ่นยนต์
  • เพื่อให้บุคคลทั่วไปทราบแหล่งข้อมูลของหน่วยสมรรถนะของอาชีพต่าง ๆ ในสาขาคลัสเตอร์หุ่นยนต์
  • ลักษณะเด่นของโรงงานอัจฉริยะและความแตกต่างกับโรงงานปกติ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างโรงงานอัจฉริยะกับอุตสาหกรรม 4.0
  • หลักการต่าง ๆ ที่จะใช้พัฒนาโรงงานสู่ความเป็นโรงงานอัจฉริยะ

โดยในตัวหัวข้อเนื้อหา ประกอบด้วย 3 หัวข้อเนื้อหาและสิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ ดังนี้

  1. โรงงานอัจฉริยะกับแนวทางการประกอบอาชีพในประเทศไทย
    - เพื่อแนะนำคุณวุฒิวิชาชีพของสาขาคลัสเตอร์หุ่นยนต์ให้บุคคลทั่วไปรู้จัก
    - เพื่อให้บุคคลทั่วไปรู้จักสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแมคคาทรอนิกส์ สาขาคลัสเตอร์หุ่นยนต์
  2. Smart Factory คืออะไร? ต่างกับโรงงานปกติอย่างไร?
    - ผู้เรียนสามารถจำแนกแยกแยะ(label) หลักการนำข้อมูล (data) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ใน Smart Factory ได้
  3. Smart Factory เกี่ยวข้องกับ Industry 4.0 อย่างไร?
    - เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจำแนก(label)ความหมายของ Industry 4.0 กับ Smart Factory (โรงงานอัจฉริยะ) ได้
    - เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยง(relate)หลักการของ CPS, IoT เข้ากับ Smart Factory ได้
    - เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบาย(explain)หลักการของ CPS ได้

และในหัวข้อแรก โรงงานอัจฉริยะกับแนวทางการประกอบอาชีพในประเทศไทย ได้ทำวิดิโอประกอบเนื้อหาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังวิดิโอด้านล่าง

วิดิโอที่ 1. สื่อประกอบหัวข้อเนื้อหาโรงงานอัจฉริยะกับแนวทางการประกอบอาชีพในประเทศไทย

เนื้อหานี้ได้นำไป deploy ในเว็บไซต์ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Smart Factory สำหรับบุคคลทั่วไป — Robotic Learning Hub (thairobotics.org) ด้วยเห็นว่าเป็นเนื้อหาเหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่เป็น Target group ของโครงการ Virtual Classroom ด้วย

รูปที่ 3. หน้ารายละเอียดคอร์สความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Smart Factory สำหรับบุคคลทั่วไป
รูปที่ 4. หน้าหัวข้อบทเรียน

ตอนนี้มีผู้ใช้งานเข้าถึงเนื้อหานี้จำนวน 49 คน คอร์สถัดไปกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ

รูปที่ 5. draft เนื้อหาแนวทางการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์แขนกลโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

โดยเนื้อหาที่คาดว่าจะเป็นไฮไลต์ของระบบฝึกอบรม จะเป็นเนื้อหาสำหรับผู้ใช้งานระดับปฏิบัติการ หัวข้อเนื้อหา “แนวทางการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์แขนกลโดยคำนึงถึงความปลอดภัย”

ตัวอย่าง draft เนื้อหาแนวทางการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์แขนกลโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

จุดสำคัญของเนื้อหาต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจความแตกต่างของคำสั่งการเคลื่อนที่หุ่นยนต์แขนกลแบบ Articulated ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม เข้าใจว่าควรกำหนดจุด Safety Point ในทุกๆ จุดที่จะหยิบหรือวางชิ้นงาน และการเลือกใช้คำสั่งในแต่ละช่วงการขยับของหุ่นยนต์แขนกล 6 แกน โดยการเคลื่อนที่นี้จะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง (obstacle) ด้วย

รูปที่ 6. การเรียบเรียงวัตถุประสงค์ของแต่ละคอร์ส

จากรูปที่ 6. เป็นไฟล์สำหรับเรียบเรียงวัตถุประสงค์, course description และการออกแบบเนื้อหาต่าง ๆ โดยสีเขียวเป็นคอร์ส/เนื้อหาสำหรับบุคคลทั่วไป สีน้ำเงินเป็นคอร์ส/เนื้อหาสำหรับผู้ประกอบการ และสีส้มเป็นคอร์ส/เนื้อหาสำหรับระดับปฏิบัติการ

รูปที่ 7. แผนงานสำหรับเทอม 3 (1/2564)

AI For All: Phase I

จัดกิจกรรม workshop ของ Educational Smart Factory Platform 2 ครั้ง

ได้จัดทำ Google form สำหรับการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม workshop

ได้จัดทำ Google form สำหรับให้ feedback ความพึงพอใจจากกิจกรรม

Workshop ครั้งที่ 1: 16 มิ.ย. 2564

คนเข้าร่วมจำนวน 29 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน

รูปที่ 8. อาชีพต่าง ๆ ที่เข้ามาใช้งานระบบในกิจกรรม workshop
รูปที่ 9. ภาพจากกิจกรรม workshop

Session แรกเปิดด้วยการบรรยายจากรศ.ดร.สยาม เจริญเสียง เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้งานสนใจลงทะเบียนเข้ามาใช้ระบบของเรา

รูปที่ 10. ภาพจากกิจกรรม workshop session การบรรยายช่วงแรก
รูปที่ 11. ภาพจากกิจกรรม workshop ภาพถ่ายหมู่ร่วมกับ Demo site
รูปที่ 12. ภาพจากกิจกรรม workshop ตอนให้ user ลองใช้งานส่วน Product customization

ช่วงเก็บ feedback มี 2 รูปแบบให้ user มีทางเลือกในการให้ feedback หลากหลายมากขึ้น คือ Jamboard และ Google form โดยทั้งสองตัวนี้จะเน้นที่คำถามเชิง usability เกี่ยวกับตัวระบบ

รูปที่ 13. Feedback จาก Jamboard: จุดที่ประทับใจในระบบ
รูปที่ 14. Feedback จาก Jamboard: จุดที่คิดว่าควรปรับปรุงในการจัดกิจกรรมและการพัฒนาระบบ

Workshop ครั้งที่ 1: 23 มิ.ย. 2564

การจัดกิจกรรมครั้งที่ 2 จัดคล้ายเดิมคือ session แรกเป็นบรรยายและ session หลังเป็นใช้งาน Product customization ของ Demosite

รูปที่ 15. session บรรยายในกิจกรรม workshop ครั้งที่ 2
รูปที่ 16. ตัวอย่างการถ่ายภาพร่วมกันในการจัด workshop

ในการจัด workshop ครั้งนี้ เพิ่มรายละเอียดในส่วนการอธิบายเทคนิคที่ใช้ในการสร้าง Demo site และเพิ่มระยะเวลาในการให้ผู้ใช้งานเข้ามาสั่ง Product customization

และได้ทำเพิ่มคือนำชื่อผู้ใช้งานไปโชว์ในวิดิโอ Live streaming ทำให้ได้ User experience ที่ดียิ่งขึ้น

Feedback รวมในการจัด workshop มีผู้ใช้งานตอบ 12 คน

รูปที่ 17. Feedback จากกิจกรรม workshop
รูปที่ 18. ถอดบทเรียนจากกิจกรรม workshop

ปัญหาใหญ่ที่พบจากการจัดกินกรรม workshop วันที่ 23 คือ ปัญหาอินเตอร์เน็ตล่มเนื่องจากไฟตกที่ตึกฟีโบ้ ควรมีตัวเครือข่ายแบบ cellular รองรับกรณีเกิดเหตุแบบนี้ไว้ เป็น backup plan

แผนงานถัดไป

  1. เตรียมจัดกิจกรรม อบรม IoT เบื้องต้น เน้นการลงลึกในเชิงเทคนิคและการปฏิบัติมากขึ้น
  2. เตรียมเป็นสต้าฟของกิจกรรมอบรม IoT ในการประสานงานเรื่องการจัดหาของ

--

--